Line ID :
@ptlogis
Call Us :
061-951-6544

INCOTERMS การส่งมอบสินค้า

PT-LOGISTIC > Uncategorized > INCOTERMS การส่งมอบสินค้า
  • มกราคม 30, 2019

ธุรกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างการขนส่งสินค้าจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อสามารถแบ่งเป็น 8 ธุรกรรมดังนี้

  1. Seller’s Fectory โรงงาน หรือร้านค้า ของผู้ผลิต เป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางของสินค้า
  2. First Carrier การขนส่งสินค้า(ในประเทศ)จากโรงงาน หรือร้านค้าของผู้ผลิต ไปยังสถานที่ที่ทางบริษัทขนส่งกำหนด (เช่น ท่าเรือ หรือสนามบิน) ซึ่งบริษัทขนส่งในที่นี้หมายถึงบริษัทขนส่งระหว่างประเทศที่จะดำเนินการส่งสินค้าจากประเทศต้นทางมายังประเทศปลายทาง **ในขั้นตอนนี้จะรวมถึงการทำพิธีการศุลกากรขาออกด้ว
  3.  Alongside Ship (Outbound) การนำสินค้าจากสถานที่ในขั้นตอนที่2มาที่ข้างเรือ(เครื่องบิน) เพื่อเตรียมนำขึ้นเรือ(เครื่องบิน)ต่อไป
  4. On Board การนำสินค้าขึ้นเรือ(เครื่องบิน) ไม่ว่าจะเป็นการใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักร (เคลนยกสินค้า เป็นต้น)
  5. On Arrival สินค้าเดินทางไปถึงท่าเรือ (สนามบิน) ปลายทาง
  6. Alongside Ship (Inbound) การนำสินค้าลงจากเรือ(เครื่องบิน) ไม่ว่าจะเป็นการใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักร (เคลนยกสินค้า เป็นต้น)
  7. Destination Place เมื่อดำเนินการนำสินค้าลงจากเรือ(เครื่องบิน) จะมีการนำสินค้ามายัง คลังสินค้าของท่าเรือ(เครื่องบิน) หรือลานตู้คอนเทนเนอร์ และในขั้นตอนนี้จะรวมถึงการดำเนินพิธีการศุลกากรฝั่งขาเข้าประเทศปลายทางด้วย
  8. Buyer’s Warehouse เมื่อเสร็จขั้นตอนทั้งหมดข้างต้น จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายคือการขนส่งในสินค้าไปยังสถานที่ที่ผู้ซื้อได้จัดเตรียมไว้ (โกดังของผู้ซื้อ)

EXW หรือ EX Works

ผู้ขายมีหน้าที่เตรียมสินค้าเอาไว้ตามคำสั่งซื้อ โดยสินค้าจะอยู่ที่โรงงานของผู้ขาย

จากนั้นในขั้นตอนที่2-8 ผู้ขายจะต้องดำเนินการเองทั้งหมด (หรือจัดหา/จ้าง) โดยค่าใช้จ่าย ความเสี่ยง ต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น ทางผู้ซื้อต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด


FCA หรือ Free Carrier

ผู้ขายมีหน้าที่จัดเตรียมสินค้าตามคำสั่งซื้อ จากนั้นดำเนินการขนส่งสินค้า(ในประเทศ)จากโรงงาน หรือร้านค้าของผู้ผลิต ไปยังสถานที่ผู้ซื้อกำหนด เช่นท่าเรือ รวมทั้งดำเนินพิธีการศุลกากรฝั่งขาออกจากประเทศผู้ผลิตด้วย (ข้อ1 และข้อ2)

จากนั้นผู้ซื้อจะรับผิดชอบต่อในข้อที่3 จนสินค้าถึงมือผู้ขาย


FAS หรือ Free Alongside Ship

ผู้ขายมีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ดำเนินการต่างๆ รวมทั้งความเสี่ยง ในข้อที่1-ข้อที่3 (สินค้ามาอยู่ที่ข้างเรือ/เครื่องบิน เพื่อรอก่อนโหลดขึ้นเรือ/เครื่องบินต่อไป)

ส่วนซื้อมีหน้าที่รับผิดชอบตั้งแต่การยกโหลดสินค้าขึ้นบนเรือ/เครื่องบิน จนสินค้าไปถึงมือผู้ซื้อ (ข้อ3-ข้อ8)


FOB หรือ Free on Board

ผู้ขายจะหมดความรับผิดชอบเมื่อนำสินค้าขึ้นมาส่งให้ถึงบนเรือ/เครื่องบินเท่านั้น (ข้อที่1-ข้อที่4)

จากนั้นเป็นภาระความรับผิดชอบของผู้ซื้อ ตั้งแต่ค่าระวางเรือ/เครื่องบิน ที่จะเดินทางมายังประเทศปลายทาง ตลอดจนภาษีขาเข้า ค่าธรรมเนียมต่างๆ จนสินค้าถึงมือผู้ซื้อ (ข้อที่ 4-ข้อที่8)


CPT หรือ Carriage Paid To

รูปแบบนี้จะคล้ายกับ FOB แต่จะเพิ่มค่าระวางเรือ/เครื่องบินที่ทางผู้ขายจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

ส่วนผู้ซื้อก็จะมารับช่วงความรับผิดชอบเมื่อสินค้ามาถึงปลายทาง เริ่มตั้งแต่ค่ายกสินค้าลงเรือ/เครื่องบิน จนไปถึงมือผู้ซื้อเอง

อย่างไรก็ตามรูปแบบ CPT จะมีข้อเสียคือ ในระหว่างที่สินค้าอยู่กับบริษัทขนส่ง (เรือ/เครื่องบิน) ความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างนี้จะไม่อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ขาย และขนส่ง ซึ่งหมายความว่าถ้าสินค้าสูญหาย หรือเสียหาย ผู้ซื้อจะไม่สามารถเรียกร้องค่าชดใช้ใดๆได้เลย

กรณีนี้จะพบบ่อยกับการสั่งสินค้าทางinternet แล้วผู้ขายส่งสินค้ามาทางไปรษณีย์ แล้วสินค้าเสียหาย สูญหายระหว่างการเดินทาง ทางผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้นๆ ทำให้ผู้ซื้อต้องไปติดตามเรียกร้องค่าเสียหายจากไปรษณีย์เอง ซึ่งจะได้หรือไม่ หรือได้จำนวนเท่าใดนั้นก็ขึ้นกับเงื่อนไขของทางไปรษณีย์


CIP หรือ Carriage and Insurance Paid

จะเหมือนกับ CPT แต่เนื่องจาก CPT จะมีข้อเสียตามที่กล่าวข้างต้น ทำให้ผู้ขายแก้ไขปัญหานี้โดยเพิ่มในส่วนของประกันสินค้าเสียหายเข้าไป

โดยประกันจะคุ้มครองในช่วงของการเดินทาง อย่างไรก็ตามหากสินค้าเสียหาย หรือสูญหายนั้น ประกันจะชดใช้ให้เต็มจำนวนหรือไม่ ก็ขึ้นกับเงื่อนไขที่ทางผู้ขายได้ตกลงทำประกันไว้